วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Korea & Thailand traditional music / ดนตรีโบราณ ไทย - เกาหลี


Geomungo or Goguryeo zither “พิณแห่งโกคูรยอ”


"โกมังกู" (geomungo) หรือ “ฮยอนกึม” (hyeongeum) เป็นเครื่องสายโบราณของเกาหลี (ซึ่งดิฉันขอเรียกว่า พิณเกาหลี แล้วกันนะคะ) เหล่าบัณฑิตเชื่อกันว่าชื่อนี้มาจากคำว่า “โกคูรยอ” และโดยความหมายก็คือ “พิณแห่งโกคูรยอ” หรืออีกนัยหนึ่งก็แปลได้ว่า “พิณสีดำ”

Geomungo [ 거문고 or 현금 ]

The geomungo or hyeongeum (literally "black zither") is a traditional Korean stringed musical instrument of zither family instrument with both bridges and frets. Scholars believe that the name refers to Goguryeo and translates to "Goguryeo zither" or that it refers to the colour and translates to "black crane zither".

ขอคุยต่อ จาก คุณ Ladymoon จาก เรื่อง กษัตริย์ศิลปิน กษัตริย์กงนิม

ชนชาติเกาหลี ได้ถ่ายทอด ความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะ ผ่านทางด้านดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งมีการพัฒนา มากว่า 5 พันปี ของประวัติศาสตร์ เกาหลี แม้ว่า ศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่างๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะป็น ในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย

ดนตรีประจำชาติ



ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น แต่ถ้าเราสามารถสัมผัสดนตรีชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง จะพบว่าดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกกล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่น มีสองจังหวะในหนึ่งห้อง


คุกอัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ซองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัก หรือดนตรีพื้นบ้าน



ซองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน
ส่วน มินซกอัก ได้แก่ดนตรีของชาวนาชาวไร่

พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะรวดเร็วและกระฉับกระเฉง
(จากนิตยสาร this is Korea เล่มเดิม)


( ก็ไม่เข้าใจ กับ คำว่า สามจังหวะในหนึ่งห้อง หรือ สองจังหวะในหนึ่งห้อง แต่ ขอยกข้อมูล ดนตรีไทย มาเปรียบเทียบ ก็แล้วกัน
เพลงบุหลันนี้ ได้รวมทำนองทั้ง สองท่อนเข้าเป็นท่อนเดียวกัน คือ เป็น ท่อนที่ 1 มี 6 จังหวะ โดยเฉพาะในทางดนตรี ยังได้เติมทำนอง เสมือนเท่าลอยๆ เข้ามาแทรกระหว่าง ท่อนที่ 1 กับท่อนที่ 2 อีก 2 จังหวะ....

แต่คำว่า ห้อง ..ของ ดนตรี เกาหลี จีน ญี่ปุ่น ไม่รู้จะเปรียบเทียบ กับ ดนตรีไทย ยังไง แต่ตาม ที่เข้า ใจเอาเองว่า ดนตรี จะประกอบด้วย เนื้อร้อง ทำนอง แล้วก็ ตัวเครื่องดนตรี ที่จะต้องบรรเลง ตามโครงสร้างของทำนอง และลีลาจังหวะของเพลง ขอเชิญ ผู้รู้ ช่วยมาไขข้อข้องใจ นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ )

ผลที่สุด ก็ไม่ได้ ใช้ Link เกี่ยวกับ ดนตรีในราชสำนักเกาหลี มาเขียน จริง ๆกลับต้องเอาเรื่อง ดนตรีไทยมาเขียน ไหน ๆ ก็ไหนๆ แล้วนี่

เพลงไทยเดิม ของ ไทย เรา มี 12 ประเภท คือ


1.เพลง สามชั้น 2.เพลง สองชั้น 3. เพลงชั้นเดียว 4. เพลงเถา 5. เพลงเกร็ด 6.เพลงตับ 7.เพลงหมู่ 8.เพลงเดี่ยว 9.เพลงใหญ่ 10.เพลงโหมโรง 11.เพลงท้ายเครื่อง 12.เพลงส่งท้าย

เราจะคุ้น กับ หลาย ประเภท เช่น
เพลงเถา หมายถึงเพลงที่ประกอบด้วย เพลง สามชั้น เพลงสองชั้น เพลงชั้นเดียว รวมกัน เริ่มบรรเลง จาก เพลงสามชั้น มาสองชั้น แล้วออกชั้นเดียว เป็นอันจบเถา

เพลงตับ คือเพลงที่บรรเลงเป็นเรื่องๆ โดยเอาเพลงเกร็ด ที่มีระดับเสียงเดียวกันมาบรรเลงติดต่อ มีร้องสลับ มุ่งให้ฟังเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนจบ เช่น ตับเรื่องกากี ตับเรื่องอิเหนาตอนไหว่พระ ตับเรื่องนิทนาชาคริต เป็นต้น

เพลงเกร็ด คือเพลงที่แยกบรรเลงโดดๆ แต่ละเพลง ด้วยเครื่องดนตรีทุกเครื่องพร้อมกัน บางท่านเรียก เพลง พลัด

เพลง สองชั้น ถือเป็นเพลงหลัก ถ้าจะแต่ง สามชั้น ก็ขยายขึ้นไป ถ้าชั้นเดียวก็ตัดทอนลงมา ใช้สำหรับร้องทั่วไป เช่นเพลงลาวเจริญศรี แขกสาหร่าย เขมร โพธิสัตว์
หนึ่งจังหวะของเพลงสองชั้น ต้องเล่นให้ได้ครบ 4 จังหวะ

เพลงสามชั้น คือการเอาเพลงสองชั้นมาขยายอีกเท่าตัว เช่นเพลงสองชั้นใช้เวลาแสดง 2 นาที เมื่อทำสามชั้น ใช้เวลา 4 นาที จังหวะจึงทอดช้าลงเป็นธรรมดา และ มี 4 จังหวะเหมือนกัน เช่นเพลงโสมส่องแสง ราตรีประดับดาว ( ของ รัชกาลที่ 7) คลื่นกระทบฝั่ง ( ของรัชกาลที่7 มีของเดิม เป็นเพลงสองชั้น อยู่ก่อน)

เพลงชั้นเดียว ทอนลงจากเพลงสองชั้นครี่งหนึ่ง จังหวะก็มี 4 เหมือนกัน จึงเร็วมาก

ส่วนเพลง โหมโรง คงคุ้น กับภาพยนตร์โหมโรง ที่ ท่านครู ศร ศิลปบรรเลง ตีระนาดเอก แข่ง กับ ท่านขุนอินทร์ กัน ทั้งไพเราะ ทั้งดุเดือด กัน นะคะ ท่านใดไม่ได้ ดู ภาพยนตร์โหมโรง น่าเสียดายมากๆ ที่ทอดทิ้ง ศิลปะดนตรีไทย


เพลงโหมโรง มีศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วย นะคะ คือ Overtrue เป็นการบรรเลงเป็นเพลงแรกก่อนบรรเลงจริงๆ ไม่มีการขับร้อง เป็นการมุ่งจะเตือนให้ผู้คนได้ทราบว่าการบรรเลงจะได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตัวอย่างเพลงโหมโรงเช่น เพลงไอยเรศ มะลิเลื้อย กระแตไต่ไม้ เยี่ยมวิมาน ภิรมย์สุรางค์

ไอยเรศ ที่แปลว่าช้าง มีบทบาท กับ วิถีไทย เรามากเลย ใช้เป็นชื่อ ที่เกี่ยวข้อง กับ วิถีไทยมากมาย แม้ แต่ ชื่อ กล้วยไม้ป่า งดงามมาก




สำหรับประเทศไทยเรามี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



พระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดา ไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

Siamese theater group which performed in Berlin, Germany in 1900.



นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ
ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะในทาง สีซอสามสาย
ทรงโปรดซอสามสายมากถึงกับ ทรงสร้างซอสามสายไว้เป็นซอคู่พระหัตถ์ มีอยุ่คันหนึ่งทรงพระราชทานนามว่า “ ซอสายฟ้าฟาด” ในเวลาว่างจากพระราชกรณียกิจตอนกลางคืน มักจะโปรดทรง “ ซอสายฟ้าฟาด” เสมอถ้าไม่ร่วมวงก็มักทรงเดี่ยวด้วยพระองค์เอง

ทรงพระราชนิพนธ์ เพลง “บุหลันเลื่อนลอยฟ้า อันเป็นเพลงที่มีที่มาจากทรงสุบินนิมิตเป็นเพลงที่มีความไพเราะซาบซึ้งเป็นเยี่ยมเพลงหนึ่ง


Thai Traditional Music : Bu Lhan Loi Lean "บุหลันลอยเลื่อน"


ทรงโปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฎที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม ( ทวารพระวิหารศรีศากยมุนี)
นอกจากนี้ ยังทรงมีฝีพระหัตถ์แกะสลักหุ่น พญารักใหญ่ และพญารักน้อย
ในรัชกาลของพระองค์ถือว่าเป็น “ ยุคทองแห่งศิลปะการดนตรีและนาฎศิลป์ “

สำหรับ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่พระชนมายุ ได้ 8 พรรษา ทรงติดตาม พระราชบิดาไปในงานสงครามทุกครั้ง
เมืองไทยเรายังมีเจ้านายที่ทรงเป็นอัจฉริยะทางดนตรีอีกหลายพระองค์

ทั้งนี้ไม่ได้รวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เพราะ พระอัจฉริยะของพระองค์ หากจะกล่าวถึงนั้นมากมาย แทบทุกศาสตร์ ทุกแขนง และถือเป็นยุคปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นนักดนตรี เฉกเช่นเดียวกับพระเจ้า ถังไทจง แห่งราชวงศ์ถัง


ข้อความจากปกิณกะการดนตรีและเพลงไทย ของ สมบัติจำปาเงิน สำเนียง มณีกาญจน์


สำหรับ คอหนังจีน พระองค์ก็คือหลี่ซื่อหมิน โอรสของ หลี่หยวนที่ตั้งตนเป็น พระเจ้าถังเกาจู ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์ถัง มี โอรส 3 องค์ คือ หลี่เจิ้นเฉิง ซึ่งเป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี่ และเกิดศึกสายเลือด ถึงขั้นสังหารกันเองระหว่างสามองค์ชาย จนหลี่ซื่อหมิน ได้ เป็น ถังไท่จง ฮ่องเต้


ถังไท่จงฮ่องเต้ ก็ถือเป็นยุคทองของราชวงศ์ถัง แต่ เพิ่งมาพบข้อความนี้ ทั้งที่ หนังสือเล่มนี้ซื้อมาเกือบ ยี่สิบปีแล้ว (เพราะอ่านไม่ละเอียดนั่นเอง ) ก็ เลยถึง บางอ้อว่า


ทำไมละคร เรื่อง บูเซ็กเทียน เวอร์ชั่น ที่ ฝง เป๋า เป่า แสดง เป็น บูเซ็กเทียน ในครั้งที่ยังเป็น พระสนมบูเหม่ยเหนียง ถึง มีบท ที่สนม บู ออกมารำถวายพระพร หน้าพระที่นั่ง ของ ถังไท่จง ฮ่องเต้

และต่อ มาเป็นพระสนม ของ ถังเกาจงฮ่องเต้ อีก ( ถังเกาจง ฮ่องเต้ คือองค์ชาย หลี่จื้อ โอรส หนึ่งในสามของ ถังไท่จงฮ่องเต้ องค์ชายทั้งสามขัดแย้งกัน ถังไท่จง ทรงเลือกองค์ชายหลี่จื้อ เพราะทรงอ่อนโยน กว่าองค์อื่น เพื่อไม่ให้ โอรสอีก 2 องค์ ถูกฆ่า)

ที่แท้ ถังไท่จง ฮ่องเต้ ทรงเป็น นักดนตรี มิใช่แค่ พอพระทัยในดนตรีอย่างที่เคยเข้าใจมานั่นเอง

บทความที่เขียนมาอ้างถึงกษัตริย์ สองพระองค์ 2 ชาติ บังเอิญเนื้อหา กลับโยงไปถึง กษัตริย์ อีกพระองค์ และอีกชาติจนได้ แต่ขอโยงอย่างสั้นที่สุด และ กลายเป็นส่ามกษัตริย์ ศิลปิน

และก่อนที่จะพูดถึงนาฎศิลป์ของเกาหลี ต้องขอโชว์นาฎศิลป์ไทยที่งดงามบ้างนะคะ เช่น ระบำเทวีศรีวิชัยที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในสมัย รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 นี่เอง

ระบำชุดนี้ สร้างสรรค์ ขึ้นใหม่โดย พีรมณฑ์ ชมธวัช และ ทีมงาน คณะละครอาภรณ์งาม ท่ารำนั้น เป็นการออกแบบบนพื้นฐานของนาฏยศัพท์จากระบ ำสุโขทัยโดยท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี นำเพลงเก่ามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่
ออกแบบเครื่องแต่งกายขึ้นใหม่ จากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ เทวรูปสมัยสุโขทัย



Srivichai's Princess Dance [Tae-wee Srivichai]:ระบำเทวีศรีวิชัย

นาฎศิลป์ ของเกาหลี

ศิลปะการร่ายรำของเกาหลี แบ่งเป็นสองประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือแบบราชสำนัก และแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราชสำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างามซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้ามระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนองที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่นระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์

Samgo-Mu (Korean Tradition Drum Dance)



คุณ ร้อยตะวัน เคย นำระบำกลอง มาใช้พวกเราชมกันแล้วนะคะ

ส่วนจิตรกรรมแบบดั้งเดิม

จิตรกรรมแบบเกาหลี แตกต่างจากรูปแบบของตะวันตกอย่างสิ้นเชิงด้วยลักษณะของลายเส้นและการให้สี ซึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปะตะวันออก การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจิตรกรรมโบราณในสุสานหลวง จากยุคสามอาณาจักร ( 57 ปี ก่อนคริสตศักราช-ค.ศ. 668 ) ช่วยให้ เราสามารถเข้าใจวิถีชิวิตของคนในสมัยนั้น

( หมายเหตุ ที่มาของข้อมูล ที่ใช้ 57 ปี ก่อนคริสตศักราช ก็ น่า จะเป็น เรื่องของ อาณาจักร ชิลลา แต่พอลงท้ายเป็น ค.ศ. 668 อัน ปี ปีที่ โคคุเรียว ล่มสลาย ท่านผู้ อ่าน ใช้ การวินิจฉัยเองแล้วกันนะคะ และ ในเวปนี้ ก็ เคย ลงภาพ จิตรกรรมที่ค้นพบใน สุสาน ของราชวงศ์ โคคุเรียว มาแล้ว ครั้งที่ กล่าวถึง ละคร Legend ของ เบ ยองจุน )

ต่อมาสมัยราชวงศ์ โคเรียว (ค.ศ. 918-1392)ศาสนา พุทธ มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีงานจิตรกรรม แบบพุทธ และศิลปวัตถุ อื่นๆ เกิดขึ้นมากมายในวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วน ในสมัย ราชวงศ์ โซซอน...เคยลงข้อความแล้วค่ะ)



ส่วนข้างล่างนี้ ก็รบกวนอ่านเอง แล้วมีท่านใดจะใจดีแปลไทยให้ จะเป็นพระคุณอย่างสูง ข้อความนี้มาจาก link ที่คุณ ร้อยตะวันให้มาค่ะ



Kuk-Ak is to be classified into Ah-ak, Dang-ak, Hyang-ak, Jeong-ak.Ah-ak : It's the traditional music which is performed at the Royal Court ceremonies in the ancient Korean State and Chosun Dynasty. It is the ancient Chinese music and originally it is called the music for the Chinese religious ceremonies. It was performed at the religious services, which the Court held for Wongu, Sajik, Taemyo, Seonnong, Seonjam and Kongjamyo, and at the national grand banquets. Ah-ak, which we know today, is the music for religious ceremony of Confucian shrine. Dang-ak: It is the music from Dang Dynasty and the Song, which was flown in the era of the Shilla kingdom and the ancient Korea State. Dang-ak includes the folk music from the Song. It has been coming into the Korean Peninsula from the late Shilla Kingdom to the ancient Korean State. Dang-ak was named to distinguish from Hyang-ak. Dang-ak can be devided by Nakyangchoon, Boheoja, Sooryongeum, Eokchiso, and Hawoonbong. Hyang-ak: It includes the genuine ancient music before Dank-ak came in and the music from the western side of China before the Dang Dynasty.

Kayagum Sanjo played by Hwang Byong-gi
However, today's folk music is not included. The most music except Ah-ak and Dang-ak from Palace and the intellectual class are included in Hyang-ak. Jeong-ak: It is the music that was played in Palace and the intellectual class such as Ah-ak, Dang-ak and Hyang-ak. Jeong-ak includes the music for religious services for the Ancestral Shrine of the Royal family, honoring the Royal Court, and for the Civil and Military authority.

Chulhyungum Sanjo

Also, it includes the musical pieces from Yeominrak, Nakyangchoon, Boheoja, Cheeta, and the derivative music from each musical pieces.Minsok-ak(Folk music): It is the exact opposite from Jeong-ak. The general public enjoyed Minsok-ak. Minsok-ak covers Sanjo, Pan-Sori, Jabga, Minyo, Nongak. Jabga includes Shibee Jabga, Wheemori Jabga, Seodo Jabga, Santaryung, Gayageum Byungchang, Seon-sori. Besides, there are songs like folk songs which were handed down among the people. These are holding the great portion of Minsok-ak. Most of these were begun as the farmers and the fishers sang when they did the religious services or did working. It happened spontaneously without any particular composer. Emotions of life from the people are simply reflected in those music.

Source :

http://wehavenozen.blogspot.com/2008/03/jin-hi-kim-x2.html

https://eee.uci.edu/programs/rgarfias/films.html

http://whale.ulsan.go.kr/php/app/contents/source/contents.php?id=711&code=echb&type=A

Amornbyj@Copyright


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น