วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิสัยทัศน์ในการสร้างละคร ของเกาหลีใต้ เรื่อง "Surgeon Bong Da-hee"


วิสัยทัศน์ในการสร้างละคร ของเกาหลีใต้ เรื่อง "Surgeon Bong Da-hee"

Surgeon Bong Da-hee


บทวิจารณ์นี้อาจจะไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจสำหรับผู้อ่านเท่าใดนัก ออกจะวิชาการมากไปด้วยซ้ำ แต่ผู้เขียนต้องขออนุญาตนำข้อดี ของละครเรื่อง Surgeon Bong Da-hee มาวิจารณ์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ชมละครทุกท่าน ปกติเรามักจะดุละครด้วยความสนุกสนานและบันเทิงใจแต่มักจะลืมคิดว่า ละครเรื่องนั้น ๆ ให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง เช่นเดียวกันการที่ผู้เขียนจะวิจารณ์ละครเหมือนกับคอลัมส์ทั่วไปนั้น ผู้เขียนก็คงไม่ทำเช่นกัน เพราะหากการร่างตัวอักษรลงบนหน้ากระดาษแบบทั่วไปนั้นใคร ๆ ก็ทำ ได้ แต่หากจะเรียงร้อยถ้อยอักษรให้มีประโยชน์และควรค่าแก่ผู้อ่านก็มิใช่ว่า...ทุกคนจะทำได้เช่นกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องทำความเข้สใจกับผู้อ่านทุกท่านก่อนว่าบทวิจารณ์ทุกเรื่อง ล้วนมาจากความตั้งใจและผ่านการค้นคว้ามาทั้งสิ้น...มิได้นั่งเทียนเขียน …หากแต่กรั่นกรองมาด้วยจิตวิญาณและจรรยาบรรณของผู้เป็นนักเขียน นามว่า “ Roytavan (ร้อยตะวัน) ”

Surgeon Bong Da-hee หรือศัลยแพทย์บงดัลฮี เป็นละครเกาหลีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศัลยแพทย์ฝึกงานมือใหม่ ผลงานนี้น่าสนใจและน่าติดตาม โดยผู้อำนวยการสร้าง Kim Hyeong-sik ได้รับแรงบันดาลใจจากละครเรื่อง “Grey Anatomy” (ศัลยแพทย์มือใหม่) ของอเมริกา ซึ่งนำเอาโครงเรื่องของ Grey Anatomy มาดัดแปลง ตัวละครเอกของเรื่อง Bong Da-hee มีบุคลิกลักษณะเช่นเดียวกันกับ Meredith Grey ในเรื่อง “Grey Anatomy” หากเปรียบเทียบแล้ว ตัวละครทุกตัวในเรื่องมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันหมด โดยการสร้างละครเรื่องนี้ปรับปรุงเนื้อหาและฉากถ่ายทำเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์และนโยบายปัจจุบันของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งขณะนี้มุ่งเน้นที่จะ ทำโครงการ “ Health Tourism & Medical Tourism ” โดยใช้ละครเรื่อง Surgeon Bong Da-hee มาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างอิทธิพลให้กับชาวเอเซีย ดั่งเช่นเรื่อง Winter Sonata หรือ Winter Love Song ที่ทำให้เกิดปรกฎการณ์กระแสนิยมเกาหลี ( Hallyu Wave )มาแล้วทั่วโลก...

อย่างไรก็ตาม. .ด้วยความตั้งใจของผู้อำนวยการสร้างทำให้ละครเรื่อง Surgeon Bong Da-hee ส่งผลให้ Kim Hyeong-sik ได้รับรางวัล Best new director จากเวที Korean Baeksang Arts Awards ครั้งที่ 43 และ Lee Bum-soo นักแสดงนำชายของเรื่องได้รับรางวัล Popularity award เช่นเดียวกัน สำหรับรางวัล Baeksang Arts Awards นี้ถือเป็น 1 ใน 3 รางวัลแห่งเกียรติยศของบุคคลวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์ ของประเทศเกาหลีใต้ที่น่าเชื่อถือและคนในวงการบันเทิงทุกคนก็ปรารถนาที่จะได้รับ...

หากจะถามว่าความงดงามของเรื่องอยู่ที่ไหน...? คงต้องบอกว่า ฉากการถ่ายทำในสถานที่จริง เช่น Seoul National University Hospital และการเดินเรื่องซึ่งสะท้อนจิตวิญญาณของศัลยแพทย์ ทำให้ละครมีเสน่ห์ ตื่นเต้นน่าสนใจ สอดแทรกมุขตลกขบขัน และความรู้พื้นฐานของศัพท์แพทย์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึง...วิถีชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเรื่องจริงของผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์.. ที่บุคคลทั่วไปไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อน นอกจากนี้เนื้อเรื่องยังถ่ายทอดเนื้อหาความสำคัญของจรรยาบรรณศัลยแพทย์ รวมทั้งระเบียบปฏิบัติที่จำเป็นของศัลยแพทย์ทุกสาขา เช่นวิธีการล้างมือก่อนและหลังผ่าตัด การประกาศเวลาเสียชีวิตของผู้ป่วย ระเบียบปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชึ้อ HIV การประชุมเพื่อศึกษา Case Study หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิต ที่เรียกว่า Morbidity & Mortality conference ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ศัลยแพทย์ทุกสาขาจะต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อศึกษาถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่เฉลียวใจจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต...
สุภาษิตภาษาลาตินที่ว่า “Errare humanum, perseverare diabolicum est… การทำความผิดเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่การทำความผิดที่ทำซ้ำๆ กันนั้นเป็นการกระทำของปีศาจ ” ยังคงใช้ได้กับผู้ประกอบอาชีพศัลยแพทย์...

สำหรับนักแสดงนำ เช่น Lee Yo Won / Le Bum Soo / Oh Yoon Ah / Kim Min Joon
ต่างต้องเข้าไปศึกษาและเสริมทักษะประสบการณ์จากศัลยแพทย์ในโรงพยาบาล Seoul National University Hospital (ซึ่งมี 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขต Hankok และวิทยาเขต Seoul) เพื่อให้สวมบทบาทได้เหมือนจริงมากที่สุด โดยเฉพาะ Lee Yo Won ที่ทุ่มเทการแสดงในบทบาท Bong Da-hee เป็นอย่างมากแม้กระทั่งทรงผมที่เห็นอยู่ในเรื่องนี้ก็ถูกตกแต่งให้เหมาะสมกับการเป็นแพทย์มากที่สุด เช่นเดียวกับ Lee Bum Soo ที่ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “...ละครเรื่องนี้ยากกว่าการแสดงภาพยนตร์ที่เขาเคยแสดงเสียอีก...”

ความตั้งใจของผู้อำนวยการสร้างเพื่อให้เหมือนจริงและเพื่อให้ความรู้กับผู้ชมนั้น เราจะสังเกตได้จาก Subtitle ซึ่งเป็นการแปลความหมายของศัพท์แพทย์แต่ละคำที่มักจะขึ้นมาให้เห็นตลอดเวลาที่มีการถ่ายทำในโรงพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น
การกู้ชีพ (CPR) หมายถึง การทำให้ฟื้นคืนชีวิตจากความตายโดยการช่วยแก้ไขระบบ
การไหลเวียนของโลหิต และระบบการนำออกซิเจนเข้าออกร่างกาย

DBA = Death Before Arrival เสียชีวิตที่เกิดเหตุ
DOA = Death On Arrival เสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉิน
DOT = Death On Table เสียชีวิตในห้องผ่าตัด

สิ่งที่ปรากฎขึ้นในละครเรื่องนึ้ ยังสะท้อนภาพให้เห็นถึงตัวตนของผู้อำนวยการสร้าง Kim Hyeong-sik อีกด้วยว่า...มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจการแพทย์และความทันสมัยของเครื่องมือเครื่องใช้และการบริการของโรงพยาบาลในประเทศเกาหลีใต้ ว่ามีศักยภาพมากเพียงใด นั่นก็อาจเป็นเพราะ Kim Hyeong-sik มีภูมิหลังเป็น ที่เชี่ยวชาญด้าน Abdominal radiation science ของ Gachon University Gil Medical Center สังกัดอยู่ในหน่วยงานสร้างภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Korea National College of Rehabilitation and Welfare อีกด้วย…

ละครเรื่อง Surgeon Bong Da-he เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับวงการศัลยแพทย์ และการสร้างละครที่เป็นแบบ Reality รับรองว่าเมื่อคุณรับชมแล้วไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน...สำหรับผู้ที่สนใจใฝ่รู้สามารถเข้าไปดูตาม Link ที่แนบมาให้หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับท่านบ้างไม่มากก็น้อย...

Roytavan (ร้อยตะวัน)
กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ
บทอ้างอิง
http://www.surgeons.or.th/main/index.php
http://www.thaiheart.org/index.php
http://culturefriends.or.kr/download/2008CPIInformation.doc
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=sweetpolarbear&date=22-06-2007&group=17&gblog=15
http://www.healthmedicaltourism.org/Articles/March_2007_Articles/South_Korea:_a_New_Destination_in_Medical_Vacation/
http://www.gilhospital.com/english/
htt p://www.ekoreajournal.net/paper/service/bk_issue.jsp?
VOLUMENO=42&BOOKNUM=3&SEASON=Autumn&YEAR=2002

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น